.:: ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ ::.

 

 

 

 

05110106 Business Law 1
  กฏหมายธุรกิจ 1
  สังกัด บริหารธุรกิจ, บริหารธุรกิจ
  หน่วยกิต 3 (3-0-3)
อาจารย์ ชานุท บุณยสมิต

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ละเมิด

ละเมิด
ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี
ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้
ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
องค์ประกอบการกระทำอันเป็นละเมิด
1. ต้องมีการกระทำ
2. โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
3. โดยผิดกฎหมาย
4. มีความเสียหายเกิดขึ้น

ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
1. กรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นกับทรัพย์สิน
2. กรณีที่เกี่ยวกับชีวิตร่างกาย
- ถ้าถึงตาย
- ถ้าไม่ถึงตาย
นิรโทษกรรม
การกระทำที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องรับผิดเพราะเป็นการกระทำ
ไปเพื่อเป็นการป้องกันหรือเพราะมีเหตุจำเป็นที่จะต้องกระทำเช่นนั้น
หรือเพื่อเป็นการบำบัดป้องกันภยันตรายสาธารณะซึ่งเกิดขึ้นอย่างฉุกเฉิน
กะทันหัน แต่ทั้งนี้ จะต้องเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุด้วย

มาตราที่น่าสนใจ
มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่น
โดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็
ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ผู้นั้นทำ
ละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
มาตรา 425 นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่ง
ละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
มาตรา 439 บุคคลจำต้องคืนทรัพย์อันผู้อื่นต้องเสียไปเพราะ
ละเมิดแห่งตนนั้น ยังต้องรับผิดชอบตลอดถึงการที่ทรัพย์นั้นทำลาย
ลงโดยอุบัติเหตุ หรือการคืนทรัพย์ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างอื่น
โดยอุบัติเหต

ุมาตรา 443 ในกรณีทำให้เขาถึงตายนั้น ค่าสินไหมทดแทน
ได้แก่ ค่าปลงศพ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ อีกด้วย
ถ้ามิได้ตายในทันที ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ ค่า
รักษาพยาบาล รวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้
เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย
ถ้าว่าเหตุที่ตายลงนั้น ทำให้บุคคลคนหนึ่งคนใดต้องขาดไร้
อุปการะตามกฎหมายไปด้วย บุคคลคนนั้นชอบที่จะได้รับค่า
สินไหมทดแทนเพื่อการนั้น