.:: ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ ::.

 

 

 

 

01220001 General Psychology
จิตวิทยาทั่วไป
สังกัด ศึกษาทั่วไป, ศิลป์
หน่วยกิต 3 (3-0-3)
  อาจารย์ ธัญญาภัทร์ เลิศจันทรางกูร

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

  • ความรู้เบื้องต้นเกียวกับจิตวิทยา
  • พันธุกรรมและสิงแวดล้อม
  • พัฒนาการของมนุษย์
  • พื้นฐานทางสรีรวิทยา
  • การรับสัมผัสและการรับรู้
  • การจูงใจ
  • การเรียนรู้
  • เชาว์ปัญญา
  • บุคลิกภาพ
จิตวิทยา (Psychology)
คำว่า Psychology (จิตวิทยา)มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ๒ คำ ได้แก่ Psyche (Mind = จิตใจ) และ Logos (Knowledge = ศาสตร์ องค์ความรู้)
ความหมายโดยรวมของ Psychology จึงหมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องพฤติกรรมของอินทรีย์ สิ่งมีชีวิตต่างๆ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นสำคัญ เพื่ออธิบาย ทำความเข้าใจทำนาย และควบคุมพฤติกรรมนั้นๆได้
*สามารถติดตามตำนาน เทพนิยายของ Psyche หญิงสาวผู้ถูกนำชื่อมาใช้ในการอธิบายวิทยาการทางจิตวิทยาทั้งมวลได้ในส่วนของ Mythology ในโอกาสต่อไป

พันธุกรรม (Heredity) หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ซึ่งเป็นลักษณะทางด้านชีวภาพทั้งหมดที่สามารถถ่ายทอดได้รวมถึงความบกพร่องของร่างกายบางประการ จากบรรพบุรุษรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งผ่านกระบวนการทางชีววิทยา (Biological Transmission) ภายในร่างกาย โดยอาศัย ยีน (Gene) เป็นตัวนำ

พัฒนาการ (Development) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านโครงร่าง (Structure) และแบบแผน (Pattern) ของร่างกายทุกส่วนอย่างมีขั้นตอนและเป็นระเบียบแบบแผน นับแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งเสียชีวิต ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิง คุณภาพ (Quality) เพื่อให้บุคคลนั้นพร้อมจะแสดงความสามารถในการกระทำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับวัย
โครงสร้างการทำงานของร่างกาย
ร่างกายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลกนั้นจะมีโครงสร้างทางร่างกาย ที่ประกอบจากหน่วยที่เล็กที่สุดจนไปถึงหน่วยที่ใหญ่ที่สุด ในแต่ละหน่วยนั้นจะมีการทำงานที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยไม่สามารถแยกการทำงานออกจากกันตามลำพังได้
ตัวอย่างเช่น โครงสร้างร่างกายของมนุษย์นั้นประกอบไปด้วยหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าได้ที่เรียกว่า เซลล์ (Cell) หลาย ๆ เซลล์ที่ทำหน้าที่เดียวกันเมื่อมาอยู่รวมกันเรียกว่า เนื้อเยื่อ (Tissues) หลาย ๆ เนื้อเยื่อมาทำงานรวมกันเรียกว่า อวัยวะ (Organ) หลาย ๆ อวัยวะเมื่อมาทำงานร่วมกันเรียกว่า ระบบ (System) ดังแสดงในแผนผัง
ความรู้สึกและการรับรู้ (Sensation and Perception)
ความรู้สึก (Sensation) คือ ขั้นตอนที่สิ่งเร้ากระทบประสาทสัมผัสหรือขั้นตอนการรับข้อมูลจากภายนอกเข้าสู่ตัว เป็นกระบวนการแรกที่เกิดขึ้นก่อนกระบวนการรับรู้ เป็นไปตามระบบการทำงานของร่างกาย โดยเริ่มต้นจากมีสิ่งเร้าภายนอกหรือภายในร่างกายมากระตุ้นอวัยวะรับความรู้สึก ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง อวัยวะเหล่านี้จะมีเซลล์พิเศษทำหน้าที่รับความรู้สึกที่เรียกว่า
รีเซปเตอร์ (Recepter)
บารอน และ ชังค์ (Baron and Schunk) ให้ความหมายว่า การจูงใจเป็นกระบวนการที่กระตุ้นชี้แนะแนวทาง และกำหนดให้พฤติกรรมดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทาง(Slavin, 1994)
นิยามของการเรียนรู้ (Learning) นั้นมีอยู่มากมาย นักจิตวิทยาทั้งหลายได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของการให้นิยาม และพวกเขามีความเห็นว่า การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่าง ๆ ที่คงทนถาวร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นผลมาจากประสบการณ์ ( Baron, 1989 : 136) และไม่ว่าคำจำกัดความจะเป็นไปในลักษณะไหนการเรียนรู้
เชาวน์ปัญญา หรือบางคนเรียกว่า สติปัญญา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Intelligence เป็นสิ่งที่มีผู้กล่าวกันมาไม่น้อยกว่าสองพันปีแล้ว นักจิตวิทยาได้หันมาทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องเชาวน์ปัญญา เมื่อต้นศตวรรษที่ 20 แต่ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่ชัดเจนลงตัวทีเดียวได้ นักจิตวิทยาแต่ละท่านที่ศึกษาเรื่องนี้ต่างก็มีความเห็นแตกต่างกันออกไป พร้อมกับได้ให้ความหมายของเชาวน์ปัญญาไว้หลายแง่มุม
บุคลิกภาพ  มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก  คือ  “Persona”  ซึ่งแปลว่า  หน้ากาก  เพราะการแสดงละครตามบทต่างๆ  ของชาวกรีกโบราณ  จะใช้หน้ากากสวมให้เหมาะสมกับตัวละคร  สำหรับความหมายของบุคลอกภาพ  มีผู้ให้ความหมายหลายท่าน  ทั้งนักการศึกษาไทยและต่างประเทศ  นักการศึกษาไทย