.:: ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ ::.

 

 

 

 

05110106 Business Law 1
  กฏหมายธุรกิจ 1
  สังกัด บริหารธุรกิจ, บริหารธุรกิจ
  หน่วยกิต 3 (3-0-3)
อาจารย์ ชานุท บุณยสมิต

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

การตีความและการอุดช่องว่างของกฎหมาย

การตีความหมาย (Interpretation of Law) การค้นหาความหมายของกฎหมายที่มีถ้อยคำไม่ชัดเจน หรืออาจแปลความได้หลายทาง เพื่อทราบว่าถ้อยคำในกฎหมาย มีความหมายอย่างไร เหตุผลที่ต้องมีการตีความกฎหมาย
- กฎหมายบางคำมีความหมายกำกวม หรือ
- แปลความหมายได้หลายความหมาย

ผู้ที่จะต้องตีความกฎหมายเพื่อนำไปใช้
- ทนายความ
- ตำรวจ
- คณะกรรมการการเลือกตั้ง
- ผู้พิพากษา

ประเภทของการตีความ
- การตีความตามตัวอักษร
- ภาษาธรรมดา
- ภาษาเทคนิค
- นิยามศัพท์
- ศัพท์กฎหมายที่ไม่แจ้งชัด
- การตีความตามเจตนารมณ์
- เป็นการพิจารณาความหมายของคำบางคำที่มี
ความหมายไม่ชัดเจนพอที่จะตีความตามตัวอักษร
ได้จำเป็นต้องนำ “เจตนา” ของผู้ที่ร่างกฎหมาย
หรือการออกกฎข้อบังคับ ข้อห้ามต่าง ๆ มาใช้
ประกอบการพิจารณาในการตีความ

ช่องว่างของกฎหมาย
กรณีที่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่จะนำไปปรับใช้แก่
ข้อเท็จจริงได้
ช่องว่างของกฎหมายเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี
1. ผู้บัญญัติกฎหมายคิดไปไม่ถึงว่าจะมีช่องว่างในกฎหมาย
2. ผู้บัญญัติกฎหมายคิดถึงช่องว่างของกฎหมายนั้น แต่เห็น
ว่ายังไม่ควรบัญญัติให้ตายตัว

วิธีการอุดช่องว่างของกฎหมายในคดีแพ่ง
1. จารีตประเพณี
1.1 ต้องใช้บังคับมาเป็นเวลานาน
1.2 ต้องเป็นที่ยอมรับของคนในท้องถิ่นนั้น
1.3 ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของ
ประชาชน
2. บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
3. หลักกฎหมายทั่วไป