.:: ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ ::.

 

 

 

 

05110106 Business Law 1
  กฏหมายธุรกิจ 1
  สังกัด บริหารธุรกิจ, บริหารธุรกิจ
  หน่วยกิต 3 (3-0-3)
อาจารย์ ชานุท บุณยสมิต

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

นิติกรรม

นิติกรรม
การกระทำที่จะเป็นนิติกรรมจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์
5 ประการ
1. นิติกรรมต้องเริ่มจากการกระทำของบุคคลโดยการแสดง
เจตนา
2. การแสดงเจตนาต้องชอบด้วยกฎหมาย
3. การแสดงเจตนาทำโดยสมัครใจ
4. ผู้แสดงเจตนามุ่งโดยตรงที่จะก่อให้เกิดความผูกพันตาม
กฎหมาย (นิติสัมพันธ์) ตามที่แสดงเจตนาออกมา
5. มีการเคลื่อนไหวในสิทธิคือ เป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน
สงวนหรือระงับสิทธิ

ความสมบูรณ์ของนิติกรรม
1. ความสามารถของผู้ทำนิติกรรม
2. วัตถุประสงค์ของนิติกรรม
3. แบบของนิติกรรม
4. การแสดงเจตนาของนิติกรรม

ความหมายโมฆะกรรมและโมฆียะกรรม
โมฆะกรรมคือ นิติกรรมที่ตกเป็นอันเสียเปล่า ใช้บังคับไม่ได้
ไม่เกิดผลในทางกฎหมายและไม่ทำให้คู่กรณีมีความผูกพันกันตาม
กฎหมาย
โมฆียะกรรมคือ นิติกรรมที่เมื่อทำขึ้นแล้วมีผลผูกพันกันได้
ตามกฎหมาย แต่ก็อาจถูกบอกล้างได้ในภายหลัง ซึ่งจะทำให้นิติกรรม
นั้นตกเป็นโมฆะมาแต่วันเริ่มแรกทำนิติกรรม แต่ถ้าไม่มีการบอกล้าง
จนล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้หรือถ้ามีการรับรองคือมีการให้
สัตยาบันรับรู้หรือรับรองนิติกรรมนั้น ก็จะทำให้นิติกรรมนั้นสมบูรณ์
มาแต่เริ่มแรกและใช้ได้ตลอดไป จะมาบอกล้างกันอีกต่อไปไม่ได้