.:: ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ ::.

 

 

 

 

05110106 Business Law 1
  กฏหมายธุรกิจ 1
  สังกัด บริหารธุรกิจ, บริหารธุรกิจ
  หน่วยกิต 3 (3-0-3)
อาจารย์ ชานุท บุณยสมิต

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

การตีความหมาย (Interpretation of Law) การค้นหาความหมายของกฎหมายที่มีถ้อยคำไม่ชัดเจน หรืออาจแปลความได้หลายทาง เพื่อทราบว่าถ้อยคำในกฎหมาย มีความหมายอย่างไร เหตุผลที่ต้องมีการตีความกฎหมาย
- กฎหมายบางคำมีความหมายกำกวม หรือ
- แปลความหมายได้หลายความหมาย

บุคคล
ผู้ซึ่งสามารถมีสิทธิและปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ตามกฎหมาย
บุคคลในทางกฎหมายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. บุคคลธรรมดา
2. นิติบุคลล
การเริ่มสภาพบุคคล
ต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ
1. คลอดแล้ว
2. อยู่รอดเป็นทารก

นิติกรรม
การกระทำที่จะเป็นนิติกรรมจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์
5 ประการ
1. นิติกรรมต้องเริ่มจากการกระทำของบุคคลโดยการแสดง
เจตนา
2. การแสดงเจตนาต้องชอบด้วยกฎหมาย
3. การแสดงเจตนาทำโดยสมัครใจ
4. ผู้แสดงเจตนามุ่งโดยตรงที่จะก่อให้เกิดความผูกพันตาม
กฎหมาย (นิติสัมพันธ์) ตามที่แสดงเจตนาออกมา
5. มีการเคลื่อนไหวในสิทธิคือ เป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน
สงวนหรือระงับสิทธิ
สัญญา
เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นจากการตกลงระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่าย
ขึ้นไป ทำให้เกิดมีความเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ มีหน้าที่ต่อกัน
ประเภทของสัญญา
1. สัญญาต่างตอบแทนกับสัญญาไม่ต่างตอบแทน
2. สัญญามีค่าตอบแทนกับสัญญาไม่มีค่าตอบแทน
3. สัญญาประธานกับสัญญาอุปกรณ์
4. สัญญาเพื่อประโยชน์ของผู้คนภายนอก
5. เอกเทศสัญญากับสัญญาไม่มีชื่อ
หนี้
หนี้เป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองฝ่ายโดยบุคคลฝ่ายหนึ่ง
เรียกว่า “เจ้าหนี้” ชอบที่จะได้รับชำระหนี้ โดยการส่งมอบทรัพย์สิน โดย
การกระทำ หรือโดยการงดเว้นกระทำการจากบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่ง
เรียกว่า “ลูกหนี้”
ละเมิด
ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี
ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้
ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น