.:: ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ ::.

 

 

 

 

  • เชาว์ปัญญา

ความหมายของเชาวน์ปัญญา
เชาวน์ปัญญา หรือบางคนเรียกว่า สติปัญญา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Intelligence เป็นสิ่งที่มีผู้กล่าวกันมาไม่น้อยกว่าสองพันปีแล้ว นักจิตวิทยาได้หันมาทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องเชาวน์ปัญญา เมื่อต้นศตวรรษที่ 20 แต่ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่ชัดเจนลงตัวทีเดียวได้ นักจิตวิทยาแต่ละท่านที่ศึกษาเรื่องนี้ต่างก็มีความเห็นแตกต่างกันออกไป พร้อมกับได้ให้ความหมายของเชาวน์ปัญญาไว้หลายแง่มุม ดังนี้
สต๊อดดาร์ด (Stoddard) ได้ให้ความหมายของเชาวน์ปัญญาว่า เป็นความสามารถในการทำกิจกรรมที่มีลักษณะดังนี้
1. มีความยุ่งยาก
2. มีความซับซ้อน
3. เป็นนามธรรม
4. มีคุณค่าทางสังคม
5. อยู่ในชีวิตประจำวัน
6. มีความแปลกใหม่
7. ตัองใช้แรงจูงใจและความอดทนอย่างสูง
ก๊อดดาร์ด (Goddard) ได้ให้ควาหมายของเชาวน์ปัญญาที่คล้ายคลึงกับแนวคิดของสต๊อดดาร์ด ดังนี้ เชาวน์ปัญญา หมายถึงความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆที่
1. ยาก
2. ซับซ้อน
3. เป็นนามธรรม
4. ประหยัดทางเศรษฐกิจ
5. มีการปรับปรุงให้บรรลุเป้าหมาย
6. ให้คุณค่าทางสังคม
7. มีการกระทำโดยคิดขึ้นเอง และสามารถรักษากิจกรรมนั้นได้ โดยใช้สมาธิ ความอดทน และความตั้งใจ
เทอร์แมน (Terman) กล่าวว่า เชาวน์ปัญญาหมายถึงความสามารถในการคิดแบบนามธรรมของแต่ละบุคคลได้ดีและรวดเร็ว
บิเนท์ ( Binet) ได้ให้ความหมายของเชาวน์ปัญญาไว้ว่า " เชาวน์ปัญญา " เป็นแนวโน้มในการใช้ความสามารถเพื่อให้เข้าใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ แล้วนำความรู้ความเข้าใจที่ได้รับมาไปดัดแปลงและปรับปรุงเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ในโอกาสต่อไป
ประวัติความเป็นมาของการวัดเชาวน์ปัญญา
การทดลองที่ทำอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลหรือเชาวน์ปัญญานั้น มีตั้งแต่ ค ค. ศ .1796 โดยนักดาราศาสตร์ที่เมืองกรีนวิซ ( Greenwich ) พบความแตกต่างด้านความเร็วในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางสายตาของมนุษย์
อีกหลายสิบปีต่อมาคือในราว ค . ศ . 1838 นายแพทย์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Esquirol ได้ใช้เครื่องมือวัดหลายอย่างซึ่งรวมไปถึงเครื่องมือวัดทางจิตวิทยาด้วย ทั้งนี้เพื่อดูความแตกต่างของความเป็นปัญญาอ่อนในมนุษย์ (จำแนกระดับความเสื่อมของสมอง) Esquirol พบว่า การใช้ภาษา (Language usage) เป็นตัวชี้บ่งที่สำคัญที่สุดในการบอกระดับของเชาวน์ปัญญา กระทั่งครึ่งศตวรรษต่อมา จึงพบว่าความสามารถในการใช้ภาษาเป็นสิ่งสำคัญในการวัดเชาวน์ปัญญาของมนุษย์จริง
นักชีวิวทยาชาวอังกฤษ Sir Francis Galton เชื่อว่า ความฉลาดและบุคลิกภาพของมนุษย์เป็นเรื่องของพันธุกรรม เขาพยายามสร้างเครื่องมืดวัดความฉลาดหรือระดับเชาวน์ปัญญาของบุคคลขึ้น เพื่อสนับสนุนงานวิจัยด้านพันธุกรรมของมนุษย์ที่เขาสนใจ เกลตันได้ทำการวัดลักษณะของบุคคล ทั้งที่กี่ยวดองเป็นญาติและไม่เกี่ยวดองเป็นญาติ ทั้งนี้เพื่อดูความคล้ายคลึงและความแตกต่างกันระหว่างพ่อแม่กับลูก พี่กับน้อง ญาติลูกพี่ลูกน้อง และคู่ฝาแฝด เป็นต้น
เกลตันได้ตั้งห้องปฏิบัติการด้านมนุษย์มิติ (Antropometric Laboratory) ขึ้น เพื่อศึกษาอย่างมีระบบถึงขนาดส่วนต่างๆในร่างกายของคน โดยใช้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นกลุ่มตัวอย่าง และวัดลักษณะประจำตัวทางกายภาพ ทดสอบสายตา หู และความแตกต่างทางจิตวิทยาด้วย
ในระหว่างปี ค . ศ .1890 – 1896 James Mckeen Cattell ได้นำหลักสถิติของเกลตันไปใ ช ้ในสหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเชาวน์ปัญญาของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
แคทเทล ได้ทดสอบเชาวน์ปัญญาหรือความฉลาดของนักศึกษา โดยวัดความสามารถทางประสาทในด้านต่าง ๆเช่น ช่วงเวลา
ที่บุคคลมีปฏิกิริยาโต้ตอบ เวลาที่ใช้ในการตัดสินใจ ความสามารถในการฟังเสียง สูง – ต่ำ การพิจารณาความหนักของสิ่งของโดยไม่ต้องชั่ง ความสามารถในการจำอักษรได้ เป็นต้น
แบบทดสอบเชาวน์ปัญญาของบิเนต์ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข และใช้กันอย่างแพร่หลายคือ ฉบับที L.M.Terman แห่ง Stanford University สหรัฐอเมริกา เป็นผู้อำนวยการปรับปรุงเรียกกันว่าแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาสแตนฟอร์ด - บิเนต์ (Stanford-Binet Intelligence Test) นักจิตวิทยาได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเชาวน์ปัญญา และได้จำแนกไว้เป็นหลายทฤษฏี
1. ทฤษฎีองค์ประกอบเดียว (Unique factor theory)
ทฤษฏีองค์ประกอบเดียวนี้ จัดว่าเป็นทฤษฏีแรกในเรื่องการวัดเชาวน์ปัญญาของมนุษย์ โดยเชื่อกันว่าเชาวน์ปัญญาของมนุษย์เรานั้นมีลักษณะเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน จะแยกจากกันไม่ได้ ซึ่งเป็นลักษณะที่รวมความสามารถ และประสบการณ์ทั้งปวงเข้าไว้ด้วยกันซึ่งแบบทดสอบที่ใช้วัดเชาวน์ปัญญาในลักษณะนี้ ได้แก่ แบบทดสอบของ binet ที่ผลสรุปออกมาเป็นหน่วยเดียวคือ I.Q.
2. ทฤษฏีสององค์ประกอบ (Bifactor Theory หรือ Two factor theory)
2.1 ทฤษฎีเชาวน์ปัญญาทั่วไปของสเปียร์แมน
ทฤษฏีสององค์ประกอบนี้ เกิดจากแนวคิดของ Charles Spearman ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาชาวอังกฤษ ทฤษฏีนี้เชื่อว่า เชาวน์ปัญญาของคนเรานั้นมี 2 องค์ประกอบ ด้วยกันคือ
• องค์ประกอบทั่วไป (General Factor)
• องค์ประกอบเฉพาะอย่าง (Specific Factor)
องค์ประกอบทั่วไป หมายถึง ความสามารถพื้นฐานทั่วไปที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคนเป็นองค์ประกอบร่วมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทุกประเภท เช่น ปฏิภาณ ไหวพริบ การสังเกต ฯลฯ
องค์ประกอบเฉพาะอย่าง หมายถึง ความสามารถเฉพาะอย่างซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง เป็นผลมาจาก การเรียนรู้ หรือประสบการณ์ เป็นองค์ประกอบที่ใช้เฉพาะในกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ความสามารถทางด้านกีฬา ดนตรี ศิลปะ เป็นต้น
2.2 ทฤษฎีเชาวน์ปัญญาของแคทเทล
- Fluid Intelligence หมายถึง เชาวน์ปัญญาที่มีมาแต่เดิม เป็นส่วนที่อิสระจากการศึกษา และประสบการณ์ เป็นเชาวน์ปัญญาที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสภาวะทางร่างกาย
- Crystallized Intelligence หมายถึง เชาวน์ปัญญาที่เกิดขึ้นในภายหลัง เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมประสบการณ์ และการเรียนรู้
3. ทฤษฎีหลายองค์ประกอบ (Multiple factor theory) กลุ่มความคิดตามทฤษฏีนี้เชื่อว่า เชาวน์ปัญญาของมนุษย์ในแต่ละด้านแต่ละอย่างแตกต่างกันออกไป หรือเชาวน์ปัญญาของมนุษย์เรานั้นประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ หลายด้าน เช่น ความสามารถในการคำนวณ การใช้ภาษา การคิดหาเหตุผล เป็นต้น ทุกคนมีความสามารถในแต่ละด้านแตกต่างกันออกไป ใครมีความสามารถทางด้านใดมากก็ถือว่ามีความถนัดทางด้านนั้นและ มีโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จในด้านนั้นมากกว่า
3.1 ทฤษฎีของธอร์นไดค์
Thorndike นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งเชื่อว่าสติปัญญาเกิดจากความสามารถเฉพาะหลาย ๆ อย่าง มารวมกันเข้าด้วยกันคือ
1. Abstract Intelligence หมายถึง ความสามารถในการคิดเป็นนามธรรม สัญลักษณ์ต่าง ๆ วิเคราะห์สิ่งที่เป็นนามตามธรรมชาติ ศึกษาหาความรู้เรื่องราวต่าง ๆ เชาวน์ปัญญาชนิดนี้จำเป็นสำหรับการเรียนการสอน เป็นลักษณะของการใช้ความรู้และสติปัญญา
2. Mechanical Intelligence คือ ความสามารถด้านเครื่องจักรกล และการใช้มืออย่างคล่องแคล่ว เชาวน์ปัญญาชนิดนี้จำเป็นสำหรับการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม การเย็บปักถักร้อย งานบ้าน งานครัว
3. Social Intelligence คือ ความสามารถในด้านการปรับตัวให้เข้ากับสังคม และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสมและมีความสุข สามารถปรับอารมณ์และจิตใจให้เข้ากับผู้คน และสิ่งแวดล้อมได้โดยง่าย เชาวน์ปัญญาชนิดนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนในการดำเนินชีวิต