.:: ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ ::.

 

 

 

 

  • ความรู้สึกและการรับรู้ (Sensation and Perception)

การรับรู้
ความรู้สึกและการรับรู้ (Sensation and Perception)

ความรู้สึก (Sensation) คือ ขั้นตอนที่สิ่งเร้ากระทบประสาทสัมผัสหรือขั้นตอนการรับข้อมูลจากภายนอกเข้าสู่ตัว เป็นกระบวนการแรกที่เกิดขึ้นก่อนกระบวนการรับรู้ เป็นไปตามระบบการทำงานของร่างกาย โดยเริ่มต้นจากมีสิ่งเร้าภายนอกหรือภายในร่างกายมากระตุ้นอวัยวะรับความรู้สึก ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง อวัยวะเหล่านี้จะมีเซลล์พิเศษทำหน้าที่รับความรู้สึกที่เรียกว่า
รีเซปเตอร์ (Recepter)
การศึกษาเรื่องความรู้สึกต้องเข้าใจกระบวนการของอวัยวะรับความรู้สึกต่างๆ ก่อน และสิ่งที่ควรศึกษามี 2 ประการ คือ
1. เทรซโฮลด์ (Thresholds)
2. การปรับตัวในการรับรู้ความรู้สึก ( Sensory Adatation)
เทรซโฮลด์ (Thresholds)
เป็นจุดที่เกิดเสียงค่อยที่สุดที่จะทำให้เกิดความรู้สึกจากเสียงหรือได้ยิน (สัมผัส)
เทรซโฮลด์ มีด้วยกัน 2 ชนิด
1. เทรซโฮลด์สมบูรณ์ คือความเข้มของสิ่งเร้าที่มีปริมาณน้อยที่สุดที่จะกระตุ้นให้บุคคลเกิดความรู้สึกได้
2. เทรซโฮลด์ความแตกต่าง คือปริมาณความเข้มของสิ่งเร้าที่น้อยที่สุดที่เปลี่ยนแปลงไปและทำให้เกิดความรู้สึกได้หรือความแตกต่างของความเข้มของสิ่งเร้าสองสิ่งที่น้อยที่สุด ที่จะกระตุ้นบุคคลให้เกิดความรู้สึกได้
การปรับความรู้สึก ( Sensory Adatation )
เป็นลักษณะของการเปลี่ยนแปลงในการรับความรู้สึก โดยอวัยวะรับความรู้สึกเกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกที่มีต่อสิ่งเร้าหลังจากถูกกระตุ้นมาในระยะเวลาหนึ่งแล้ว
ความหมายของการรับรู้
การรับรู้ (Perception) คือ ขบวนการที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการเลือกสิ่งเร้า (selection) การประมวลสิ่งเร้า (organization) และการแปลผลตีความสิ่งเร้า (interpretation)

1. การรับรู้ เป็นผลของความรู้เดิมรวมกับการรับสัมผัส (Sensation)
หรือเป็นผลของการเรียนรู้รวมกับความรู้สึกจากการสัมผัส โดยอาศัยอวัยวะรับสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้เพราะการรู้สึกจากการสัมผัสอย่างเดียวมักไม่มีความหมาย ผู้สัมผัสต้องแปลความหมายว่าสิ่งเร้าที่มาสัมผัสประสาทสัมผัสนั้นมีความหมายเป็นอย่างไร
ดังนั้น ทั้งสัมผัสและการรับรู้จึงเกี่ยวโยงกันอยู่ในแง่ของการทำงานที่ต่อเนื่องกัน นอกจากนี้ การรับรู้ยังเป็นขบวนการที่มีส่วนเกี่ยวโยงกับความจำ (Memory) ในตอนที่แปลผล ตีความสิ่งเร้าและจะต้องเทียบเคียงกับประสบการณ์เดิมในความจำอีกด้วย
2. การรับรู้ เมื่อมองในแง่พฤติกรรม เป็นกระบวนการอย่างหนึ่ง
โดยมีสิ่งเร้าไปเร้าอินทรีย์แล้วทำให้อินทรีย์ตอบสนองต่อสิ่งเร้า คนเรามักจะรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบประสาทสัมผัสและสภาพจิตใจของแต่ละคนตลอดจนลักษณะของวัตถุที่เราจะรับรู้

องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้
เนื่องจากบุคคลมีความแตกต่างกันในด้านประสบการณ์ ลักษณะประจำตัวของแต่ละบุคคล รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการรับรู้ทั้งสิ้น ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ของคนอาจพอสรุปได้ดังนี้
การใส่ใจ (Attention)

เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการรับรู้ เพราะการที่บุคคลจะมีการรับรู้ในสิ่งใด จะต้องเกิดการใส่ใจสิ่งนั้นก่อน การใส่ใจเป็นกระบวนการเตรียมพร้อมที่จะรับรู้ โดยเริ่มตั้งแต่การปรับตัวของอวัยวะรับสัมผัส เช่น การใช้จมูกดม การใช้สายตาเพ่งมอง ถ้าสิ่งใดได้รับการใส่ใจมากสิ่งนั้นจะมีความเด่นชัดต่อการรับรู้
การเกิดการใส่ใจจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการคือ
1. ภาวะของผู้รับรู้ ( State of Perceiver)
2. คุณลักษณะของสิ่งเร้า (Stimulus Characteristice)
ภาวะของผู้รับรู้ (State of Perceiver) หมายถึง สภาพของตัวบุคคลที่เป็นผู้รับรู้ว่าขณะนั้นอยู่ในสภาพใด เพราะแต่ละบุคคลเกิดมามีสถานภาพ เจริญเติบโตในสังคมที่ต่างกัน เป็นผลให้ความรู้สึกนึกคิดต่างกันไปด้วย ซึ่งบุคคลจะมีความต่างกันในด้าน ความต้องการ (need) แรงจูงใจ (Motive) ความคาดหวัง(Expectancy) ทั้งสามเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลเกิดการใส่ใจ
คุณลักษณะของสิ่งเร้า (Stimulus Characteristice) เป็นสิ่งที่บุคคลได้พบได้รู้สึกและ จะทำให้บุคคลเกิดการใส่ใจ มากน้อยขึ้นอยู่กับ ความเข้ม ขนาด ทำตรงกันข้ามหรือแปลกออกไป การทำซ้ำ การเคลื่อนไหว
ประสบการณ์เดิม (Previous Experience)

เป็นเหมือนเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้เราตีความหมายการความรู้สึกชัดเจนขึ้น การรับรู้ของบุคคลไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความว่างเปล่าแต่มีองค์ประกอบหลายอย่างที่ทำให้เกิดการรับรู้ โดยเฉพาะประสบการณ์ที่สะสมมาตั้งแต่เยาว์วัยสิ่งเหล่านี้บุคคลจะนำมาคาดคะเนหรือเตรียมการที่จะรับรู้
การเตรียมความคิดและสถานการณ์แวดล้อม (Mental Set and Context)

ประสบการณ์ต่างๆ ทำให้บุคคลเกิดการคาดหวังในเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น การมีชีวิตอยู่ในสังคมที่อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมมากมาย บุคคลจะต้องตีความและรับรู้ในสิ่งเร้าที่แวดล้อมอย่างรอบคอบ พิจารณา ไตร่ตรอง ซึ่งเป็นการเตรียมความคิดที่จะรับรู้ต่อสิ่งเร้าต่างๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม การจัดหมวดของสิ่งเร้าในการรับรู้
นักจิตวิทยากลุ่ม Gestalt ได้ให้หลักเกณฑ์ในการรับรู้ของสิ่งเร้าต่าง ๆ ว่า คนเรามีแนวโน้มที่จะจัดสิ่งต่าง ๆ ที่เขามองเห็นออกเป็นกลุ่มหรือเป็นหมวดหมู่ จากหลักการต่อไปนี้
1. หลักความใกล้ชิด ( Proximity or Nearness)
คนเรามีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งที่ใกล้กันให้เป็นภาพเดียวกันหรือเป็นหมวดหมู่เดียวกัน ตามหลักของความใกล้ชิด เราจะมีแนวโน้มรับภาพนี้โดยแยกกลุ่มที่เป็นเส้นขนานและจุดออกเป็น 2 กลุ่ม
2. หลักความคล้ายคลึง (Similarty)
คนเรามักมีแนวโน้มที่จะรับรู้ภาพของเส้นหรือจุดคล้ายคลึงกันหรือที่เหมือน ๆ กันเข้าเป็นภาพเดียวกัน ตามหลักของความคล้ายคลึงเราจะรับรู้ภาพนี้โดยเห็นอักษร Bเป็นรูปกางเขนและมีภาพสี่เหลี่ยมประกอบอยู่ 4 มุม
3. หลักความต่อเนื่อง (Continuity)

คนเรามักจะรับรู้สิ่งเร้าที่ต่อเนื่องไปทิศทางเดียวกันเพราะความต่อเนื่องทำให้เกิดเป็นภาพได้ง่ายกว่าสิ่งเร้าที่
ขาดจากกัน
4. หลักการปิดภาพให้สมบูรณ์ (Closure)

ภาพที่ใกล้จะสมบูรณ์หรือขาดความสมบูรณ์ไปเพียงเล็กน้อยเรามีแนวโน้มที่จะต่อเติมส่วน ส่วนที่ขาดหายไปของภาพให้เป็นภาพที่สมบูรณ์
5. Figure & Ground ( ภาพและพื้น )
การที่เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ เป็นรูปได้เพราะสิ่งต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นรูปนั้นมาตัดกับพื้น โดยปกติบุคคลจะเห็นวัตถุใด ๆ ได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อเขามีความสนใจในสิ่งนั้นมากที่สุด ในสถานการณ์หนึ่งความใส่ใจของบุคคลจะแตกต่างกันออกไป การรับรู้ก็ย่อมแตกต่างกันด้วย ส่วนใดที่บุคคลรับรู้ได้เด่นชัดที่สุดเราจะเรียกว่าภาพ(Figure) และส่วนอื่น ๆ ที่เหลือจากการรับรู้เรียกว่า พื้น (Ground)
ความคลาดเคลื่อนในการรับรู้
ในวงการโฆษณามักจะใช้ประโยชน์ของภาพ Figure and ground เป็น Fiqure ส่วน Ground อาจจะทำเป็นภาพไม่ค่อยชัด เช่น ในภาพยนตร์พระเอกนางเอกจะแต่งตัวผิดไปจากคนอื่น