.:: ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ ::.

 

 

 

 

  • การเรียนรู้

ความหมายของการเรียนรู้
นิยามของการเรียนรู้ (Learning) นั้นมีอยู่มากมาย นักจิตวิทยาทั้งหลายได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของการให้นิยาม และพวกเขามีความเห็นว่า การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่าง ๆ ที่คงทนถาวร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นผลมาจากประสบการณ์ ( Baron, 1989 : 136) และไม่ว่าคำจำกัดความจะเป็นไปในลักษณะไหนการเรียนรู้ทั้งหลายก็จะมีลักษณะสำคัญ 2 ประการ
1. นิยามทั้งหลายมีความเห็นพ้องกันว่า การเรียนรู้

หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการกระทำ หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นการเปลี่ยนแปลงศักยภาพ (potential) เมื่อมีพฤติกรรมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน และถ้าการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่สามารถแสดงออกมาให้เห็นได้หรือไม่สามารถสรุปได้ว่าการเรียนรู้นั่นเกิดขึ้นซึ่งจะเป็นไปได้ในเมื่อการกระทำในขึ้นต้นของสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงข้อสมมติ (assumed) ดังจะเห็นได้จากครูที่สอนนักเรียน เมื่อครูทำการทดสอบเพียงหน่วยหนึ่งของการเรียน และนักเรียนไม่สามารถตอบคำถามเริ่มต้นในหน่วยนั้นได้ ซึ่งในบางครั้งอาจเป็นไปได้ว่า ข้อสมมตินั้นอาจไม่สมเหตุสมผลก็ได้
2. นิยามของการเรียนรู้ทั้งหลายเห็นพ้องกันว่า

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นผลจากการฝึกหรือประสบการณ์ ข้อจำกัดดังกล่าวนี้จะเป็นการเสริมหรือแสดงให้เห็นว่า ความคิดที่ตรงกันข้ามกับความคิดที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน มีความคิดว่าวัยเด็กไม่ใช่วัยที่จะเรียนรู้ได้ดีที่สุด (Childhood is not “golden age for learning”) กล่าวคือ เมื่อร่างกายของเราไปปะทะกับสิ่งแวดล้อม จะเกิดการเรียนรู้ขึ้นทันทีทันใดนั้นแล้ว วัยเด็กไม่ใช่วัยที่มีการเรียนรู้ที่ดีที่สุด จากการศึกษาในเรื่องนี้แล้วได้ชี้ให้เห็นว่า อัตราการเรียนรู้ของสิ่งใหม่ ๆ จะเพิ่มขึ้นจากวัยทารกไปสู่วัยที่จะปฏิบัติตนได้ดีเต็มที่ (maturity) คือ ราว ๆ ตอนต้นของอายุ 20 ปี จากนี้ต่อไปอีก 10 หรือ 15 ปี การเรียนรู้แทบจะคงที่เรื่อย ๆ ไป พอหลังจากนี้ไปแล้วมันก็จะค่อย ๆ เสื่อมลงทีละน้อย

องค์ประกอบที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้
การเรียนรู้จะได้ผลดีย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญบางประการ ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ 1. วุฒิภาวะ (Maturity)
หมายถึงลำดับขั้นของความเจริญงอกงาม หรือพัฒนาการของบุคคลที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งเร้า หรือการฝึกฝนใดๆ วุฒิภาวะของแต่ละบุคคลจะพัฒนาไปตามลำดับวัย ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม วุฒิภาวะเป็นภาวะของการบรรลุถึงขั้นสุดยอดของการเจริญเติบโตเต็มที่ในระยะใดระยะหนึ่ง และพร้อมที่จะประกอบ กิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งได้เหมาะสมกับวัย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาตินี้ไม่จัดว่าเป็นการเรียนรู้ แต่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเตรียมความพร้อมและฝึกทักษะเบื้องต้นให้ สมกับวัย
2. ความพร้อม (Readiness)

เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการเรียนรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการเรียนรู้ การที่จะเรียนรู้ทักษะอย่างใดอย่างหนึ่งได้รวดเร็วและเกิดผลดีผู้เรียนจะต้องมีความพร้อม หากถูกบังคับให้เรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งในขณะที่ยังไม่มีความพร้อม ผู้เรียนมักจะเกิดความคับข้องใจและมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสิ่งนั้น
3. แรงจูงใจ (Motivation)

เป็นความปรารถนาและเป็นแรงผลักดันที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะเรียนรู้ และส่งผลให้การเรียนรู้นั้นได้ผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
4. การเสริมแรง (Reinforcement)

เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้แล้วแสดงพฤติกรรมออกมา และได้รับการเสริมแรง จะรู้สึกพึงพอใจ และการเสริมแรงนั้นจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับปฏิกิริยาตอบสนองมากขึ้น จึงแสดงพฤตินั้นบ่อยขึ้น
5. การถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning)

การเรียนรู้สิ่งใหม่บางอย่าง ถ้าได้อาศัยประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐานจะช่วยให้การเรียนรู้สิ่งใหม่นั้นดีขึ้นเพราะผู้เรียนจะเชื่อมโยงความรู้ในครั้งก่อนมาใช้กับการเรียนรู้ครั้งใหม่ จึงทำให้เรียนรู้สิ่งใหม่ได้เร็วขึ้น
2. พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อ ด้านทักษะและการใช้อวัยวะต่างๆ (Psychomotor Domain)
เป็นการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความชำนาญ และเกิดทักษะในการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ เช่น การอ่าน การพูด การเขียน การเล่นดนตรี กีฬา การแสดงออกทางศิลปะ เป็นต้น
3. พฤติกรรมด้านอารมณ์หรือความรู้สึก (Affective Domain)

เป็นพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ เช่น เกิดความพอใจ ศรัทธา ชื่นชม เกิดรสนิยม ซาบซึ้งและเห็นคุณค่า ฯลฯ

กระบวนการการเรียนรู้
Lee J. Cronbach (1963 อ้างถึงใน ดวงเดือน ศาสตรภัทร, 2546) มีหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ว่า จะต้องประกอบไปด้วยสิ่งสำคัญ 7 ขั้นตอน คือ
1. สถานการณ์ (Situation)
หมายถึง สิ่งแวดล้อมหรือบรรยากาศที่เอื้ออำนวย
2. ลักษณะประจำตัวของบุคคล (Personal Characteristics)
หมายถึง ความพร้อม ความสามารถ ความถนัด ความสนใจ สติปัญญา
3. เป้าหมาย (Goal) ทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดทิศทาง เป็นแรงกระตุ้นหรือแรงจูงใจ
4. การแปลความหมาย (Interpretation)
เป็นการใช้ประสบการณ์ การรับรู้หรือความรู้เดิม ตีความสิ่งที่เรียนรู้ เพื่อให้เกิดความคิด ความเข้าใจ และวางแผนที่จะแสดงพฤติกรรมต่อไป
5. การลงมือกระทำ (Action)
เป็นการแสดงพฤติกรรมตอบสนองตามแผนที่วางไว้
6. ผลการกระทำ (Consequence)
เมื่อแสดงพฤติกรรมแล้วได้ผลที่น่าพึงพอใจ ก็สามารถยึดถือเป็นแนวปฏิบัติได้ แต่ถ้าเกิดความล้มเหลว อาจต้องมีการแก้ไขปรับปรุง ทบทวนแปลความหมายใหม่
7. ปฏิกิริยาต่อความผิดหวังหรือล้มเหลว (Reaction to thwarting)
ถ้าการกระทำได้ผลบรรลุเป้าหมายพฤติกรรมนั้นก็สิ้นสุดลง แต่ถ้าเกิดความผิดหวังล้มเหลวอาจเกิดปฏิกิริยาแสดงออกมาได้ 2 ลักษณะ คือ ปรับปรุงแก้ไข (Adaptive) ดื้อรั้น (Non-Adaptive) หรือ ใช้กลวิธานในการป้องกัน
ตนเอง (Defense Mechanism) ซึ่งเป็นการหาวิธีการปรับตัวจากความไม่สบายใจที่ผิดหวังล้มเหลว หลักการของการเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นเรื่องหนึ่งที่วงการจิตวิทยาให้ความสนใจเป็นอย่างมาก นักจิตวิทยาทั้งหลายได้พยายามศึกษาถึง
แนวความคิดของนักจิตวิทยารุ่นเก่า มีการปรับปรุง ขยาย และเพิ่มเติม ทำให้เกิดหลักการเรียนรู้ขึ้นมากมายหลายแบบ

ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นแนวคิดที่นักจิตวิทยาได้ค้นคว้าทดลองแล้วสรุปเป็นหลักการ ซึ่งมี มากมายหลายทฤษฎีและมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป จึงได้ทำการรวบรวมและจัดกลุ่มไว้ดังนี้
1. ทฤษฎีการสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theory)

หรือ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theories) เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม กลุ่มทฤษฎีนี้แยกย่อยออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข (Conditioning Theories)
หมายถึง การเรียนรู้ ที่เกิดเนื่องมาจากการตอบสนองของบุคคลที่มีต่อสิ่งเร้าตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป โดยสิ่งเร้าหนึ่งเป็นสิ่งเร้าที่ไม่มีอิทธิพลให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ คือไม่สามารถให้ใครตอบสนองมาได้ถ้าไม่มีเงื่อนไข เรียกว่า “สิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข” (Condition Stimulus) หรือสิ่งเร้าเทียม ส่วนสิ่งเร้าหนึ่งคือ สิ่งเร้าที่อินทรีย์แสดงความพึงพอใจสามารถแสดงออกมาได้เองเรียกว่า“สิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข” (Unconditioned Stimulus) หรือสิ่งเร้าแท้ เหตุที่ต้องนำทั้งสิ่งเร้าแท้และเทียมมาเข้าคู่กัน ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ ก็เพื่อให้การตอบสนองนั้นดึงออกมาจนมีความมั่นคงถาวร แม้จะนำสิ่งเร้าแท้หรือสิ่งเร้า ที่ไม่เป็นเงื่อนไขออกไปแล้ว การตอบสนองเช่นเดิมยังคงอยู่ เรียกว่าได้เกิดการเรียนรู้แล้ว ทฤษฎี การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขสามารถแยกได้เป็น 2 พวกคือ
- ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)
ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ทำการศึกษาทดลองกับสุนัข โดยฝึกสุนัขให้ยืนนิ่ง อยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการวางเงื่อนไข
พาฟลอฟ อธิบายว่า โดยธรรมชาติแล้วอินทรีย์จะมีการเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าบางอย่าง กับการตอบสนองบางอย่างตั้งแต่เกิด แล้วพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งเร้าอาจเกิดตามธรรมชาติหรือเกิดแบบอัตโนมัติ สิ่งเร้าประเภทนี้เรียกว่า "สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข" (Unconditioned Stimulus = UCS) การสอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติหรือโดยธรรมชาติ เรียกว่า "การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข" (Unconditioned Response = UCR) เช่น

- การเคาะสะบ้าทำให้เกิดการกระตุก
- การเคาะ นั้นถือว่าเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขและการกระตุกที่เกิดขึ้น เป็นการตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข
- หากนำสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขมาเข้าคู่กับ สิ่งเร้าที่เป็นกลาง เช่น เสียงกระดิ่งโดยที่จะสั่นกระดิ่งทุกครั้งที่เคาะหัวเข่า หลังจากนั้นจะพบว่า มีการกระตุกเกิดขึ้นเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง โดยที่ไม่ต้องเคาะสะบ้าหัวเข่า
- พาฟลอฟ เรียกปฏิกิริยานี้ว่า การวางเงื่อนไข (Conditioning) เสียงกระดิ่งตอนแรกเป็นสิ่งเร้าที่เป็นกลาง ต่อมากลับมีผลให้เกิดการกระตุก เรียกว่า สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus = CS) และเรียกการตอบสนองที่เกิดขึ้นว่า การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioned Response = CR)